วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ชีววิทยา)/วท.ม. (ชีววิทยา)
Master of Science (Biology)/M.Sc. (Biology)
มุ่งผลิตมหาบัณฑิตทางชีววิทยาที่มีศักยภาพสูงทางการวิจัยและพัฒนาควบคู่กับการมีภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิปัญญา เพื่อร่วมพัฒนาประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา 2565
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร | ปี | ต่อคน (บาท) |
แบบ ก 1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต | 2 | 155,200 |
แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต | 2 | 155,200 |
แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต แบบมีสหกิจบัณฑิตศึกษา | 2 | 155,200 |
แผน ข ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต | 2 | 155,200 |
หมายเหตุ :
1. ค่าหน่วยกิต 2,400 บาท/หน่วยกิต ค่าบารุงมหาวิทยาลัย 20,000 บาท/ปี
2. ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่ากิจกรรม 400 บาท/ปี และค่าประกันของเสียหาย 6,000 บาท จ่ายคืนเมื่อสาเร็จการศึกษา
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1) มีจรรยาบรรณนักวิจัย ความเป็นผู้นา และผู้ตามที่ดี และสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้
2) มีการพัฒนาทางภาษาและทักษะที่เหมาะสม เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
3) มีความรู้อย่างลึกซึ้งในทางชีววิทยาขั้นสูง และสามารถบูรณาการกับวิทยาการต่าง ๆ ได้
4) มีความคิดวิเคราะห์และประเมินข้อมูล โดยใช้สถิติ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางชีววิทยา
5) สามารถริเริ่มทาการวิจัย ปรับแปลง พัฒนา สร้างนวัตกรรม และถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ทางชีววิทยา เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การเกษตร และการแพทย์
1) งานวิชาการ ได้แก่ การเป็นอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานลักษณะอื่น เช่น สถาบันวิจัย กรม กอง ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ และศูนย์หรือองค์กรทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมอาหารและยา และอุตสาหกรรมเครื่องสาอาง นักวิทยาศาสตร์ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมทางชีวภาพ
2) งานฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค และฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ และสารเคมีทางวิทยาศาสตร์
3) งานให้คาปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์
4) งานทางวรรณกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานเขียน แปล ตรวจแก้ไข หรือเรียบเรียงเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์
5) ผู้บริหารองค์กรทางวิทยาศาสตร์
6) อาชีพอิสระอื่น ๆ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น นักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ผู้ประกอบการด้านชีวนวัตกรรม เป็นต้น