ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีววิทยา)/ปร.ด. (ชีววิทยา)
Doctor of Philosophy (Biology)/Ph.D. (Biology)
ดาวน์โหลดเล่มหลักสูตรได้ที่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา 2565
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตทางชีววิทยาที่มีศักยภาพสูงทางการวิจัยและพัฒนาควบคู่กับการมีภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิปัญญาเพื่อร่วมพัฒนาประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา 2565
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร | ปี | ต่อคน (บาท) |
แบบ 1.1 ไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต | 3 | 213,000 |
แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิต | 3 | 213,000 |
แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 64 หน่วยกิตแบบมีสหกิจบัณฑิตศึกษา | 3 | 213,000 |
แบบ 2.2 ไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิต | 5 | 240,400 |
แบบ 2.2 ไม่น้อยกว่า 96 หน่วยกิตแบบมีสหกิจบัณฑิตศึกษา | 5 | 240,400 |
หมายเหตุ :
1. ค่าหน่วยกิต 2,400 บาท/หน่วยกิต ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 20,000 บาท/ปี
2. ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่ากิจกรรม 400 บาท/ปี และค่าประกันของเสียหาย 6,000 บาท จ่ายคืนเมื่อสำเร็จการศึกษา
เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1) มีจรรยาบรรณนักวิจัย ความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
2) มีการพัฒนาทางภาษาและทักษะที่เหมาะสม เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
3) มีความรู้อย่างลึกซึ้งในทางชีววิทยาขั้นสูง และสามารถบูรณาการกับวิทยาการต่าง ๆ ได้
4) มีความคิดวิเคราะห์และประเมินข้อมูล โดยใช้สถิติ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางชีววิทยา
5) สามารถริเริ่มทำการวิจัย ปรับแปลง พัฒนา สร้างนวัตกรรม และถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ทางชีววิทยา เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การเกษตร และการแพทย์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLOs)
สาขาวิชาได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes: PLOs) อิงตามเกณฑ์ของ Revised Bloom’s taxonomy (Remembering / Understanding / Applying / Analyzing / Evaluating / Creating) เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรในระบบ ASEAN University Network – Quality Assurance (AUN-QA) (subject specific/ generic outcomes) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thailand Quanlification Framework, TQF)
นักศึกษาที่ผ่านหลักสูตรนี้แล้วจะมีความสามารถดังต่อไปนี้
1) อภิปรายและใช้หลักกฎหมาย คุณธรรม จริยธรรม ความเคารพในสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น ในการใช้ชีวิต การทำงาน และการวิจัยทางชีววิทยาได้
2) อภิปรายและแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มชี้นำเพื่อแก้ปัญหาขององค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมได้
3) อภิปรายและใช้ภาษาอังกฤษในการอ่าน การพูด การเสนอผลงานในที่ประชุม และการเขียนบทความทางวิชาการได้เป็นอย่างดี
4) อธิบาย ค้นหา ติดตาม และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางชีววิทยาได้
5) วิเคราะห์ แก้ปัญหา และประเมินหาทางเลือกที่เหมาะสม โดยใช้ความรู้ที่ลึกซึ้งทางชีววิทยาที่เชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ ได้
6) วิเคราะห์และประเมินข้อมูล โดยใช้สถิติ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทางชีววิทยาได้
7) รวบรวม ประเมินข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา สร้างนวัตกรรม และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านชีววิทยาที่มีคุณภาพสามารถตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติได้
1) งานวิชาการ ได้แก่ การเป็นอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานลักษณะอื่น เช่น สถาบันวิจัย กรม กอง ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พิพิธภัณฑ์ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ และศูนย์หรือองค์กรทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมอาหารและยา และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง นักวิทยาศาสตร์ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมทางชีวภาพ
2) งานฝ่ายสนับสนุนทางเทคนิค และฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เช่น เครื่องมือวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์ และสารเคมีทางวิทยาศาสตร์
3) งานให้คำปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
4) งานทางวรรณกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานเขียน แปล ตรวจแก้ไข หรือเรียบเรียงเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
5) ผู้บริหารองค์กรทางวิทยาศาสตร์
6) อาชีพอิสระอื่น ๆ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น นักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ผู้ประกอบการด้านชีวนวัตกรรม เป็นต้น